10 เรื่องจริง "วันคริสต์มาส" และ "ซานตาคลอส" ที่อาจไม่เคยรู้

Talkative

หลังจากที่ได้อ่านบทความ เรื่อง "วันคริสต์มาส" กับความเข้าใจผิดเมื่อ 2000 กว่าปีก่อน ! ที่พอจะทำให้รู้ความเป็นมาไปว่าวันสำคัญของของชาวคริสต์ อย่าง เทศกาลคริสต์มาส นี้เกิดขึ้นได้ยังไง คราวนี้เรามารู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวันส่งความสุขนี้กันให้มากขึ้นอีกสักหน่อย กับ 10 เรื่องที่เชื่อแน่ว่าบางอย่างต้องไม่เคยได้รู้จากไหนมาก่อนแน่นอน

1. วันเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส

"คริสต์มาส" ถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม แต่เชื่อหรือไม่ว่าวันสำคัญเช่นนี้กลับไม่ถูกระบุไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ลแม้แต่น้อย อีกทั้งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่ากันพระเจ้านั้นประสูติในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

2. เทศกาลแซทเทอนาเลีย

เมื่อ 2000 กว่าปีที่แล้ว ชาวโรมันในศตวรรษที่ ได้บันทึกไว้ว่าวันที่ 25 ธันวาคม เป็น "วันแซทเทอนาเลีย (Saturnalia)" หรือวันเฉลิมฉลองให้กับพระเสาร์ผู้เป็นเทพแห่งการกสิกรรม โดยในวันนี้ชาวโรมันจะมารวมตัวกันเพื่อนกินเลี้ยง สังสรรค์ การพนัน และแลกเปลี่ยนของขวัญ

3. ที่มาของต้นคริสต์มาส

ประเพณีส่วนใหญ่ในเทศกาลคริสต์ล้วนแล้วแต่มาจากเทศกาลแซทเทอนาเลีย ไม่ว่าจะเป็น การนำกิ่งไม้จากต้นสนที่ไม่ผลัดใบมาใช้เพื่อรำลึกถึงความเขียวชอุ่มในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงที่พระเสาร์ทรงอำนาจสูงที่สุด และเพราะกิ่งของต้นสนไม่ผลัดใบนี้เองที่เป็นต้นแบบให้กับการทำ "ต้นคริสต์มาส" ในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ชาวเยอรมัน เป็นชนชาติแรกที่นำต้นคริสต์มาสมาไว้ในบ้าน โดยตกแต่งด้วยคุกกี้และดวงไฟ

ต้นคริสต์มาส เริ่มต้นมีขึ้นในฝั่งอเมริการาวทศวรรษที่ 1830 ก่อนที่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเมื่อปี 1846 เมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งเยอรมนีนำไปที่อังกฤษ และได้อภิเษกกับพระราชินีวิคตอเรีย จากนั้น เมื่อภาพของทั้งสองพระองค์ถูกวาดโดยที่มีต้นคริสต์มาสเป็นฉากหลังเผยแพร่ออกไป ใครๆ ก็ต่างพากันนำต้นไม้ประจำเทศกาลสำคัญนี้เข้าไปตกแต่งไว้ในบ้าน

4. การมอบของขวัญในวันคริสต์มาส

การมอบของขวัญให้กันในวันคริสต์มาส ก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนการมอบของขวัญให้กับพระเยซูในวันประสูติของสามโหราจารย์ (Magi / Wise Men / The Three Kings) การปฏิบัติเช่นนี้อาจมีส่วนมาจากเทศกาลแซทเทอนาเลียที่จะต้องมีการมอบเครื่องสังเวยให้แก่พระเจ้า แต่ถึงอย่างนั้นการเฉลิมฉลองเป็นประเพณี้ที่เกิดขึ้นจากคนนอกรีต ศาสจนจักรจึงยังไม่ได้ยอมรับการเฉลิมฉลองนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งในช่วงปี 1659 - 1681 การเฉลิมฉลองเช่นนี้ในเมืองบอสตันถือว่าผิดกฎหมาย

5. นักบุญนิโคลัส

"ซานตาคลอส" มีที่มาจาก "นักบุญนิโคลัส" เป็นนักบุญชาวตุรกี มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยนักบุญท่านนี้ได้รับมรดกมากมายและเป็นที่รู้จักในความใจบุญที่มักจะช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่เสมอ จากนั้นเมื่อได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ ท่านก็ถูกตั้งให้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์เยาวชน เมื่อถึงแก่กรรม ตำนานของนักบุญนิโคลัสถูกเผยแพร่ไปทั่ว ชื่อของท่านถูกออกเสียงว่า ซินต์ - นิโคลาส ในภาษาดัชท์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ซินเตอร์คลาส" ก่อนจะเพี้ยนเป็น ซานตาคลอส ในปัจจุบัน

6. ชุดของซานตาคลอส

แต่เดิมทีแล้วชุดของคุณลุง "ซานต้า" เป็นสีขาว เขียว และน้ำเงิน ส่วนชุดของซานต้าที่เราเห็นในทุกวันนี้เป็นสีแดงเนื่องมาจากภาพโฆษณาน้ำอัดลมในช่วงปี 1930 ซึ่งแพร่หลายออกไปเป็นอย่างมากและกลายเป็นภาพจำมาถึงปัจจุบัน โดยรูปลักษณ์ของซานต้าเกิดจากการประชุมครั้งหนึ่งเมื่อปี 1804 ของสมาคมประวัติศาสตร์นิวยอร์ค เมื่อสมาชิกรายหนึ่งได้แสดงแผ่นป้ายของ "เซนต์นิก" ในร่างของชายแก่ผู้ใจดีที่เต็มไปด้วยของขวัญยืนอยู่หน้าถุงเท้า

7. การแขวนถุงเท้า

การเฉลิมฉลองนักบุญนิโคลัสด้วยการมอบของขวัญจากซานต้าเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศฮอลแลนด์ เด็กๆ จะถอดรองเท้าวางไว้ในคืนก่อนคริสต์มาส พวกเขาก็จะได้รับของขวัญจากซานตาคลอส ส่วนเรื่องการแขวน "ถุงเท้า" มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ชายคนหนึ่งมีลูกสาวอยู่ 3 คน พ่อนั้นไม่มีเงินมากพอที่จัดงานแต่งงานให้กับลูกสาวคนโตได้ นักบุญนิโคลัสจึงได้โยนทองลงมาจากปล่องไฟ แล้วทองเหล่านั้นก็หล่นลงไปในถึงเท้าที่ตากไว้ข้างเตาผิง

8. รถเลื่อนและกวางเรนเดียร์

ภาพของซานต้าขี่เลื่อนลอยฟ้ามาจากจินตนาการของนักเขียน "วอชิงตัน เออวิง" เรื่อง "อัศวินไร้หัว" ส่วน "กวางเรนเดียร์" นั้นมาจาก "กวางเรนเดียร์ รูดอฟ" ที่ใช้ในห้างสรรพสินค้าเพื่อส่งเสริมการขายหนังสือสำหรับเด็ก และในตอนนั้นจมูกของกวางเรนเดียร์ก็ไม่ได้เป็นสีแดง เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของพวกขี้เมา

9. Santa Claus is coming to town

จริงๆ แล้ว เพลง ซานตาคลอส อีส คัมมิ่ง ทู ทาวน์ นั้นมีที่มาอันแสนเศร้า เพราะผู้ที่แต่งเพลงนี้ อย่าง เจมส์ กิลเลสพี อยู่ในช่วงตกงาน ไม่มีเงิน และพี่ชายของเขาเพิ่งเสียชีวิต เขาถูกร้องขอให้แต่งเพลงนี้ขึ้นมา ด้วยความเศร้าทำให้เขาเกือบจะแต่งเพลงนี้ไม่สำเร็จ แต่เพราะความทรงจำในอดีตที่เขาได้เฉลิมฉลองกับพี่ชายในวันคริสต์มาสก็ทำให้เขาแต่งเพลงนี้ได้สำเร็จ

10. เพลง จิงเกิลเบลส์

"จิงเกิลเบลส์ (Jingle Bells)" เป็นหนึ่งในเพลงฤดูหนาวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ประพันธ์โดย "เจมส์ ลอร์ด เพียร์พอนต์" เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1857 เดิมทีเพลงนี้ถูกวางไว้เป็นเพลงสำหรับวันขอบคุณพระเจ้า และได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในวันคริสต์มาส แต่ก็ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นเพลงคริสต์มาสโดยเฉพาะ

และนี่ก็เป็น 10 เรื่องจริง "วันคริสต์มาส" และ "ซานตาคลอส" ที่อาจไม่เคยรู้ ที่นำเอามาฝากให้ได้อ่านกัน ยิ่งใกล้จะถึงวันคริสต์มาสแล้วด้วย อย่าลืมเตรียมความส่งเพื่อส่งมอบให้กับคนที่เรารักกันได้แล้วนะ

MORE READ
COMMENT