ถึงเวลาหยุดเรียก "พายุปลาบึก" กันเสียที เพราะชื่อนี้มีที่มา

Talkative

ในสถานการณ์ที่มีรายข่าวเข้ามาแทบจะทุกชั่วโมงเกี่ยวพายุที่พัดโหมภาคใต้หลายจังหวัดจนทำให้หลายพื้นที่เกือบต้องราบเหมือนหน้ากลอง สายการบินหลายสายต้องหยุดขึ้นน่านฟ้า เรือหลายลำต้องงดออกจากอ่าว เกิดความเดือดร้อนกระจายเป็นวงกว้าง แม้ว่าตอนนี้ "พายุปาบึก" ได้สงบลงและอ่อนตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำจากประกาศฉบับล่าสุดของกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว แต่ก็มีผู้ที่ต้องอพยพไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยหลายหมื่นคน มีผู้เสียชีวิต 3 รายและสูญหาย 1 ราย กระนั้นหลายคนก็ยังคงไม่เข้าใจและเรียกชื่อเจ้าพายุตัวนี้ได้อย่างไม่ถูกต้อง

ขอให้เข้าใจกันใหม่ว่า "ปาบึก" ไม่ใช่ "ปลาบึก" ที่แหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำโขงสักหน่อย โดยปาบึกเป็นชื่อของพายุหมุนเขตร้อน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศลาวเพราะว่าเป็นผู้ตั้ง ในภาษาลาวจะเขียนว่า "?????" หรือ "Pabuk" นั่นเอง ซึ่งความสับสนในการตั้งชื่อพายุให้เป็นชื่อเฉพาะที่เราเห็นมาหลายต่อหลายชื่อคงไม่พ้น "คลีเมนต์ ลินด์ลีย์ แรกกี (Clement Lindley Wragge)" นักอุตุนิยมวิทยานามอุโฆษชาวอังกฤษ เจ้าของทฤษฎีการตั้งชื่อที่ว่านี้ เขาเกิดที่เมืองวุร์สเตอร์เชอร์ ด้านมิดแลนด์ตะวันตกของประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 1852 หลังจากที่เสียแม่ไปตอน 5 เดือน และเสียพ่อไปในอีก 5 ปีต่อมา แรกกีก็ได้ย้ายไปอยู่กับยายผู้ที่สอนเรื่องอุตุนิยมวิทยาให้

ปาบึก เป็นหนึ่งในรายชื่อของพายุหมุนเขตร้อนในชุดที่ 2 ลำดับที่ 6 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่ผ่านมาก็มีการตั้งชื่อพายุว่าปาบึกไปแล้วถึง 3 ครั้ง ได้แก่ พายุไต้ฝุ่นปาบึก ในปี 2001 , พายุไต้ฝุ่นปาบึก ในปี 2007 และพายุโซนร้อนกำลังแรงปาบึก ในปี 2013 ส่วนครั้งนี้มีชื่อว่า พายุโซนร้อนปาบึก ถือได้ว่าเป็นพายุลูกแรกของปี 2019 ที่ต่อจากปาบึก ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีชื่เรียกต่างกันไป มาเก๊า เรียกว่า "หวู่ดิบ" ที่หมายถึง ผีเสื้อ , มาเลเซีย เรียกว่า "เซอปัต" เป็นต้น

แรกกี เรื่มต้นชีวิตการทำงานด้านอุตุนิยมวิทยาที่สถานีตรวจอวกาศในสแตฟฟอร์ดเชอร์ เขามักจะปีนขึ้นไปบนยอดเขา "เบน เนวิส" เพื่อวัดค่าอากาศและจดบันทึก ส่วนภรรยาของแรกกี้ก็มีหน้าที่วัดค่าจากระดับน้ำทะเล ทำให้สมาคมอุตุนิยมวิทยาสก็อตแลนด์มองรางวัลเหรียญทองเอาไว้เพื่อเป็นเกียรติในการทำงาน ต่อมาในปี 1883 เขาได้รับมรดกจากป้า และได้ย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย แรกกีมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสมาคมอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียและได้ช่วยเขียนรายงานเกี่ยวสภาพอากาศภายในรัฐควีนส์แลนด์ ด้วยความทุ่มเท ข้อมูลที่ได้ช่วยให้ชาวประมงรอดพ้นจากพายุและได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักอุตุนิยมวิทยาประจำรัฐควีนส์แลนด์ในเวลาต่อมา

"คลีเมนต์ แรกกี" เป็นคนแรกที่ริเริ่มให้มีการตั้งชื่อด้วยชื่อเฉพาะ เดิมทีแล้วพายุจะมีชื่อไปตามแหล่งที่เกิด หรือตั้งตามชื่อของนักบุญในภาษาสเปน ความคิดในตอนแรกเขาอยากจะตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษรกรีกด้วยซ้ำ แต่ก็ได้เปลี่ยนมาตั้งชื่อตามเทวปกรณ์ของชาวโพลีนีเซีย ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อผู้หญิงที่สื่อถึงความรู้สึกอ่อนโยนและชื่อของนักการเมือง ซึ่งแรกกีให้เหตุผลเกี่ยวกับการตั้งชื่อพายุเป็นชื่อนักการเมืองว่า คนเหล่านั้นมักนำหายนะมาสู่ประเทศ ก็ไม่ต่างอะไรจากพายุที่มีพลังทำลายทุกสิ่งอย่างบนโลก โดยหลังจากที่แรกกีเกษียณอายุไป แนวคิดแบบนี้ก็ถูกหยุดไปกว่า 60 ปี

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เดินทางมาถึง นักอุตุนิยมวิทยาที่ทำงานอยู่ในกองทัพอเมริกันก็ได้รื้อฟื้นวิธีการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนด้วยชื่อของสตรี ตามเหตุส่วนตัวที่ออกจะโรแมนติกอยู่เล็กๆ อย่างการเอาชื่อแฟน หรือชื่อภรรยาตัวเองมาตั้งแทนความคิดถึงเมื่อต้องอยู่ไกลกัน หลังสงครามสงบ วิธีการตั้งชื่อพายุก็ถูกปรับปรุงให้เรียงไปตามลำดับตัวอักษร จนในปี 2000 สมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) 14 ประเทศ ก็ได้ทำข้อตกลงร่วมกันระบุว่าให้ตั้งชื่อพายุแบบใหม่ โดยให้แต่ละประเทศส่งรายชื่อพายุในภาษาถิ่นประเทศละ 10 ชื่อ รวมเป็น 140 ชื่อ เพื่อใช้หมุนเวียนตามลำดับการเกิด

นอกไปจากการเป็นเจ้าของทฤษฎีและมีผลงานการคิดค้นวิธีการเรียกชื่อพายุแล้ว คลีเมนต์ แรกกี ก็ยังได้สร้างประโยชน์ไว้อีกมากมายในวงการอุตุนิยมวิทยา มีผลงานการเขียนหนังสือ และความพยายามในการทดลองยิงปืนใหญ่ "Steiger Vortex" ขึ้นฟ้าเพื่อขอฝนในปี 1902 ซึ่งการทดลองนี้ไม่เป็นไปตามคาด เพราะฝนไม่ได้ตกอย่างที่ตั้งใจไว้ จึงกลายมามาเป็นจุดจบชีวิตในการเป็นนักอุตุนิยมวิทยา

เรียบเรียงจากเรื่องราวของ กิตยางกูร ผดุงกาญจน์

MORE READ
COMMENT