เกาหลีใต้กำลังพยายามผลักดันการเลิกนับอายุแบบโบราณ เพื่อยุติความสับสน

Talkative

Parasite ชนชั้นปรสิต

ถึงแม้ว่าประเทศเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังมีการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่อาจเรียกได้ว่ายังไม่เป็นสากลเท่าไหร่นัก อย่างเรื่องของการนับอายุเด็กตั้งแต่แรกเกิดที่ตอนนี้บรรดา ส.ส. ภายในประเทศกำลังออกมาผลักดันให้มีการเลิกนับอายุแบบเก่า เพราะนั่นจะทำให้เกิดความสับสนได้ วิธีการนับก็คือ เด็กจะมีอายุครบ 1 ปีในวันที่เกิด และมีอายุครบ 2 ปีในวันขึ้นปีใหม่ ถึงแม้จะเป็นวันต่อมาทันที่นาฬิกาบอกเวลาเที่ยงคืน ไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่เมื่อไหร่ที่ถูกชาวต่างชาติถามถึงอายุ ก็จะมีการตอบ 'อายุแบบเกาหลี' และ 'อายุแบบสากล' พร้อมด้วยคำอธิบายที่เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมการนับอายุถึงมีหลายแบบ

ต้นกำเนิดระบบการนับอายุแบบเกาหลี

การนับอายุแบบที่เกาหลีที่ไม่มีความเป็นสากลและอาจทำให้เกิดการสับสนนั้นไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดนักว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่จากทฤษฎีที่มีการใช้กันในการคำนวณอายุ คือจะบวกรวมอายุตั้งแต่ที่ทารกอยู่ในครรภ์ด้วย ทำให้เวลาเกิดจึงต้องปัดเศษขึ้นไปเป็น 1 ปี อีกทั้งทฤษฏีนี้ยังเชื่อมโยงกับระบบตัวเลขเอเชียโบราณที่ไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับตัวเลขศูนย์ (0)

คราวนี้มาดูเหตุผลว่าทำไมในทุกวันที่ 1 มกราคมซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่นั้นจำนวนปีของอายุจะเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ชาวเกาหลีโบราณนั้นวางปีเกิดของพวกเขาไว้ในปฏิทินจีน 60 ปี แต่ในช่วงเวลาที่ไม่มีปฏิทิน พวกเขาจะนับอายุโดยที่ไม่สนใจวันเกิดและเพิ่มอายุตัวเองเข้าไปอีก 1 ปีในวันแรกตามปฏิทินจันทรคติ ส่วนปีที่เพิ่มขึ้นมาในทุกวันขึ้นปีใหม่นั้น อาจเป็นเพราะชาวเกาหลีเริ่มรู้การมีอยู่และการมาถึงของปฏิทินสากล หรือปฏิทินแบบตะวันตก ซึ่งในรายละเอียดก็เป็นเหตุผลที่ค่อนข้างซับซ้อนอยู่เหมือนกัน

ในกลุ่มของ ส.ส. ที่มีแนวคิดและออกมาผลักดันให้เกิดการนับอายุแบบสากลได้ให้คำอธิบายไว้ว่า มีเพื่อนร่วมชาติของตันหลายคนเกิดความกังวลว่า หากยังไม่เกิดความเปลี่ยนในด้านนี้ จะทำให้เกาหลีใต้ที่มีสภาพเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกและเป็นยักษ์ใหญ่ในด้านเทคโนโลยีของโลกเดินกันไปคนละทางกับพื้นที่ต่างๆ ของโลกใบนี้ อยากให้มีการยุติประเพณีการนับอายุแบบโบราณที่มีมากกว่าศตวรรษ อีกทั้ง 'ฮวางจูฮง' หนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ออกมาเรียกร้องให้รัญบาลเปลี่ยนไปใช้อายุสากลในเอกสารราชการและกระตุ้นให้ประชาชนนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน กล่าวว่า “ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของคืออายุทางกฎหมายและอายุที่ใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกันไป ในขณะที่อายุแบบสากลถูกใช้ในศาล โรงพยาบาล และสำนักงาน แต่อายุแบบเกาหลีกลับถูกใช้ในชีวิตประจำวัน จนทำให้เกิดความสับสนและไม่สะดวก”

ส.ส. ฮวางจูฮง ยังอ้างเพิ่มเติมอีกว่า ยังมีผู้ปกครองที่เกิดความกังวลในเรื่องของการนับอายุ เพราะมีลูกที่เกิดในเดือนธันวาคม เกรงว่าลูกจะประสบปัญหาเมื่อพวกเขาอยู่ร่วมกับเด็กที่มีอายุมากกว่าและโตกว่า อาจจะเสียเปรียบซะด้วยซ้ำด้วยขนาดตัวที่เล็กกว่า พร้อมชี้ให้เห็นตัวอย่างประเทศจีนว่า ได้ยกเลิกระบบการนับอายุแบบดั้งเดิมไปแล้วตั้งแต่ช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้ปรับใช้การนับอายุแบบสากลตั้งแต่ช่วงก่อนยุค 1990s

มาที่ความเห็นของผู้ปกครองกันบ้าง อย่าง 'คิมซุนมี' เธอมีลูกสาวที่เกิดในวันที่ 30 ธันวาคมปีที่แล้วได้พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า การนับอายุแบบดั้งเดิมของเกาหลีใต้ได้สร้างความสับสนให้กับผู้ปกครองของเด็กที่เกิดในช่วงปลายปี ซึ่งตอนนี้มีความต้องการให้ลูกของเธอนับอายุแบบเดือนเนื่องจากยังเด็กเกินไป และจะเริ่มนับอายุแบบเกาหลีเมื่อโตขึ้น เธอคิดว่ามันเป็น 'เรื่องไร้สาระ' ที่ลูกสาวจะต้องมาฉลองวันเกิดถึง 2 ครั้งหลังคลอดได้ 2 วัน อีกทั้งยังชี้ว่าระบบนับอายุแบบเกาหลีนั้นส่งผลกระทบทางลบหลายอย่างต่อทารกที่เกิดในยุคนี้อีกด้วย “ฉันยังเห็นโพสต์ในโลกออนไลน์เกี่ยวกับวิธีที่พ่อแม่บางคนวางแผนการตั้งครรภ์ เพื่อลูกของพวกเขาจะไม่เกิดในช่วงปลายปี โดยบางคนถึงกับจงใจโกง โดยรอจดทะเบียนเกิดในเดือนมกราคมแทน”

ถึงการนับอายุในแบบระเดิมนี้จะส่งผลในทางลบอยู่บ้าง แต่ 'จางยูซึง' นักวิจัยอาวุโสของศูนย์วิจัยโอเรียนเต็ลศึกษาของมหาวิทยาลัยทงกุกนั้นให้ความเห็นในทางที่แตกต่างออกไป โดยเขาอ้างว่าการนับอายุแบบเกาหลีได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของปฏิทินจันทรคติในสังคมเอเชียตะวันออก ซึ่งตรงข้ามกับปฏิทินสุริยคติที่พบในฝั่งตะวันตก “บางคนบอกว่ามันแปลกสำหรับเด็กที่เกิดในเดือนธันวาคมที่จะมีอายุ 2 ปีหลังจากเกิดเพียงไม่กี่วัน แต่มันก็เหมือนกันกับอายุแบบสากล เพราะทารกที่เกิดวันนี้และอีกคนที่เกิดในปีที่แล้วก็ต่างมีกำหนดจะฉลองวันเกิดของเขาหรือเธอในวันพรุ่งนี้ โดยมีวันเกิดห่างกันเกือบ 12 เดือน แต่พวกเขาทั้งคู่มีอายุเป็นศูนย์ ทำไมระบบอายุแบบเกาหลีและอายุแบบสากลไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในลักษณะเดียวกับที่วันหยุดปีใหม่ทางจันทรคติและวันคริสมาสต์ดั้งเดิมสามารถอยู่ร่วมกับการนับวันแบบสากลได้”

เหมือนกันกับ 'คิมยุนซู' พลเมืองชาวเกาหลีใต้ อายุ 32 ปี นั้นเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าไม่ควรเปลี่ยนแปลงระบบการนับอายุให้เป็นเหมือนตะวันตก เนื่องจากระบบอายุแบบเกาหลีเกิดจากการจดจำเวลาที่ทารกใช้ในครรภ์มารดาที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเกาหลี “ฉันไม่ได้ต่อต้านการใช้ระบบอายุแบบสากลทั้งหมด แต่ฉันสงสัยว่ามันจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้คนทำแบบเดียวกันด้วยหรือ”

MORE READ
COMMENT